วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

RAM เเละ ROM

RAM โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. Static Random Access Memory ( SRAM )
            คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor)




2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )
            คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก 



                        2.1)  FPM DRAM
                                    เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า
                        2.2)  EDO DRAM
                                    เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้
                        2.3)  SDRAM
                        เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz
                        2.4)  RAMBUS
                        พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา
                                    RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 V ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป
            แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS 1 แผงจะรับ-ส่งข้อมูลทีละ 16 บิต โดยใช้ความถี่ 800MHz ซึ่งเกิดจากความถี่ 400 MHz แต่ทำงานแบบ DDR (Double Data Rate) ทำให้ได้ bandwidth ถึง 1.6GB/Sec. และจะมี bandwidth สูงถึง 6.4 GB/Sec. ถ้าใช้แผงวงจรย่อย 4 แผง


ROM มีทั้งหมด 3 ประเภทครับ ประกอบไปด้วย
- PROM (Programable ROM) เป็น ROM ที่สามารถ program ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถลบข้อมูลได้ครับ ต่อมาจึงมีการพัฒนา ROM อีกประเภทหนึ่งที่สามารถช่วยให้ลบข้อมูลได้ ซึ่งก็คือ

- EPROM (Erasable PROM) โดยมันจะทำการลบข้อมูลโดยใช้รังสี Ultraviolet ที่มีความแรง (แสงอาทิตย์ไม่เพียงพอที่จะลบข้อมูลได้ เพียงแต่เราควรป้องกันไม่ให้ EPROM โดนแสงแดดเพราะอาจจะทำให้ข้อมูลบางอย่างหายไปได้ ถึงแม้ว่าแสงอาทิตย์จะมี ultraviolet ที่ไม่แรงก็ตาม) การลบข้อมูลของมันอาจจะนำไปใส่กล่องหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี  ultraviolet ที่มีความแรงสูงครับ แต่ในวิธีการลบข้อมูลของ EPROM ค่อนข้างจะยุ่งยาก เนื่องจากจะต้องนำ ROM ออกมาเพื่อไปล้างข้อมูลในกล่องหรืออุปกรณ์บางอย่าง จึงทำให้เขาพัฒนาอีกประเภทหนึ่งขึ้นมาคือ
- EEPROM (Electrically Erasable PROM) ซึ่งช่วยให้เราสามารถใช้กระแสไฟฟ้าในการลบข้อมูลได้แทนการใช้รังสี ultraviolet ครับ แต่รู้สึกว่า ROM ประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างแพงเนื่องจากมันจะทำการลบเป็นทีละ bit ดังนั้นเขาจึงพัฒนา technology ใหม่ขึ้นมาที่ชื่อว่า FLASH Technology

ถ้ามีอะไรผิดพลาด หรือขาดตกบกพร่องช่วยชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ (เพราะผมก็เป็นผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนก็อาจผิดพลาดกันได้ครับ) พร้อมรับคำติครับ

Input/Output Unit

STEELSERIES SENSEI PRO GRADE LASER MOUSE

สุดยอดเม้าส์ระดับปรมาจารย์ที่สามารถปรับแต่งการใช้งานได้มากที่สุดในโลก
คุณสมบัติหลักของ SteelSeries Sensei
- ขับเคลื่อนโดยหน่วยประมวลผล ARM 32 บิต, Sensei ขับเคลื่อนด้วยระบบการคำนวณที่ซับซ้อนโดยตรงบนเมาส์ โดย
- ไม่ต้องใช้ไดรเวอร์ซอฟต์แวร์และการได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ของคุณ
- ปรับแต่งรายละเอียดทุกครั้ง จากปุ่มแมโครและหลายโปรไฟล์เพื่อตั้งค่าสีการเต้นและเทคโนโลยี
- เลือกจาก 16.8 ล้านสีสำหรับ 3 สถานที่แตกต่างของแสงสว่างบนเมาส์
- การตั้งค่าความไวสามารถปรับได้ตั้งแต่ 1 ถึง 5700 CPI และสามารถ “overclocked” Double CPI ได้ถึง 11,400 DCPI
- เซอร์เลเซอร์มีค่า 10.8 ล้านพิกเซล สูงถึง 12,000 เฟรมต่อวินาทีและความสามารถในการจับการได้ถึง 150 นิ้วต่อวินาที
- ออกแบบตัวเมาส์ด้วยโลหะเคลือบกัน และเชื่อมต่อกับสายไนลอนถักคู่กับขั้วต่อ USB
- เพียงเสียบก็สามารถใช้งานได้ทันที สำหรับคอเกม PC * ที่ต้องการเลือกการปรับแต่งความสามารถของเมาส์ สามารถใช้งานร่วมกับ SteelSeries Engine Technology เพื่อบันทึกโปรไฟล์พร้อมถึงการตั้งค่าการใช้งานที่หลากหลาย และการตั้งค่าได้อย่างแม่นยำ



Communication and Internet

Communication and Internet


1 ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel)
      ช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนี้ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณและชนิดของข้อมูล ซึ่งคำว่า “ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)” อาจเปรียบได้กับความกว้างของถนนและ “ชนิดของข้อมูล” อาจเปรียบได้กับชนิดของรถยนต์ดังนั้นการที่ช่องทางการสื่อสารมีแบนด์วิดท์มาก ก็เท่ากับมีถนนหลายเลน รถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้มากและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันหากมีแบนด์วิดท์น้อยก็เท่ากับถนนมีเลนน้อย รถยนต์วิ่งผ่านไปมาได้น้อยและช้า นอกจากนี้แล้วชนิดของข้อมูลก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ และความรวดเร็วในการสื่อสารกล่าวคือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความจะมีขนาดเล็กทำให้การส่งผ่านข้อมู่ลไปมาทำได้สะดวกรวดเร็วแม้จะมีแบนด์วิดท์น้อยก็ตามแต่ในทางกลับกัน หากช่องทางการสื่อสารนั้นมีแบนด์วิดท์กว้าง แต่ชนิดข้อมูลกลับเป็นไฟล์วิดีโอซึ่งขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้ช้า ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
Ä ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) เป็นต้น
Ä ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์ เป็นต้น



2 อินเทอร์เน็ต internet
      
     อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol) เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

   
ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
    
   เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือกำเนิดในยุคของสงครามเย็นระหว่างประเทศมหาอำนาจ(สหรัฐอเมริกา)
กับรัสเซียเนื่องจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เกิดแนวคิดที่ต้องการ
ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยคอมพิวเตอร์สามารถสั่งการและทำงานได้
ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้คอยควบคุมดูแล หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูหรือขีปนาวุธ
นิวเคลียร เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ที่เมืองใดเมืองหนึ่ง อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วน
ถูกทำลายไปแต่ส่วนที่เหลือจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดโครงการวิจัย
และพัฒนาระบบ เครือข่ายดังกล่าวขึ้น เรียกว่า ARPA(Advanced Research Projects Agency)
และได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่มีชื่อว่า “อินเทอร์เน็ต” (Internet)
ในปัจจุบัน

Database

Database

         ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
1:1 = ประชาชน 1 คน สามารถมีบัตรประชาชนได้ 1 ใบ
1:M = นักศึกษา 1 คน สามารถมีวิชาเรียนได้มากกว่า 1 วิชา
M:M = การลงทะเบียนเรียนแต่ละครั้งสามารถลงทะเบียนได้หลายรายวิชา
           ตัวอย่างระบบจัดการฐานข้อมูล : Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle
            ลำดับโครงสร้างข้อมูล

Bit = เลขฐาน2 ประกอบไปด้วยเลข 1 และ 2
Byte = การนำเลขฐาน 2 มารวมกัน ซึ่ง1ไบต์เท่ากับ8บิต
Field = การนำเอา Byte หลายๆ Byte มารวมกัน เช่น ชื่อ นามสกุล
Record = การนำเอา Field มาเชื่อมโยงกัน
File = การนำเอาระเบียนหลายๆระเบียนมาเชื่อมโยงกัน
Database = การนำเอาแฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันเก็บไว้ด้วยกัน

Software

แบบฝึกหัดเรื่อง Software แยกประเภทของโปรแกรม

1. Operating System Windows, Mac OS, Linux, UNIX, DOS

2. Translator Language ThaiSoftware Dictionary, LEXiTRON Dictionary

3. Utility Program Norton, Winzip, Cleanup, Winrar, Internet Explorer, Opera, FireFox, MacAfee, AVG Ati Virus, Avira Ati Virus, NOD32, Bitdefender, Adobe reader , Safari

4. โปรแกรมเฉพาะด้าน ทางธุรกิจ
  4.1 ประมวลผลคำ MS-Word
  4.2 ตารางทำการ MS-Excel
  4.3 ระบบจัดการฐานข้อมุล MySQL, Access, Oracle, MS-SQL Server
  4.4 ซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย และเว็บ Smart Nero, Power DVD, Windows Media Player
  4.5 ซอฟต์แวร์ด้านการติดต่อสื่อสาร
  4.6 ซอฟต์แวร์ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ MS-PowerPoint
  4.7 ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ Accounting System, Inventory Control

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

โปรแกรม Google Desktop

โปรแกรม Google Desktop

 

          Google Desktop ช่วยให้การค้นหาคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นเรื่องง่ายเหมือนกับการค้นหาเว็บต่างๆด้วยGoogle เป็นโปรแกรมค้นหาเดสก์ทอปที่ให้ค้นหาข้อความเต็มทางอีเมล, ไฟล์เพลงของคุณ, ภาพถ่าย, แชท, Gmail, หน้าเว็บที่คุณได้เข้าชมและอื่นๆ โดย การใช้คอมพิวเตอร์ของคุณค้นหา, Desktop ทำให้ข้อมูลของคุณได้ง่ายในการเข้าถึงของคุณและช่วยให้คุณไม่ต้องด้วยตนเอง จัดการไฟล์, อีเมลและบุ๊คมาร์ค Google Desktop ไม่เพียง แต่ช่วยให้คุณค้นหาคอมพิวเตอร์ของคุณยังช่วยให้คุณรวบรวมข้อมูลใหม่จากเว็บ และจัดอยู่ด้วย Gadget และแถบด้านข้าง Google Gadgets สามารถอยู่ทุกที่บนเดสก์ทอปของคุณเพื่อแสดงอีเมลใหม่อากาศภาพถ่ายข่าวที่ กำหนดเองและอื่นๆ Sidebar เป็นแถบแนวตั้งบนเดสก์ทอปของคุณที่จะช่วยให้คุณจัด gadgets 
ลองโหลดไปใช้กันดูน่ะครับเพื่อนๆ น่าสนดีครับ ได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยแหละครับ

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การทำภาพดูโอโทน

 

สร้างภาพดูโอโทน (Duotone) ด้วย Photoshop แบบง่ายสุด ๆ



ผมจะใช้โปรแกรม Photoshop เปลี่ยนโหมดสีของภาพ เพื่อสร้างภาพให้ออกมาเป็นโหมดสีแนวดูโอโทน (Duotone)  วิธีการทำนั้นง่ายมาก ๆ


โหมดการเปลี่ยนสีภาพเป็นลักษณะ Duotone นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่แตกมาจากโหมดสีแบบ Grayscale โดยเป็นลักษณะของการใช้สีแทนที่สีขาวและดำในภาพ Grayscale เพื่อให้กลายเป็นสีอื่น ๆ

ขั้นตอนแรก หลังจากที่ได้เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการจะตกแต่ง เข้ามาในโปรแกรม Photoshop แล้ว ให้ทำการเปลี่ยนโหมดของภาพให้เป็นแบบ Grayscale ก่อน โดยใช้คำสั่ง Image --> Mode --> Grayscale


ขั้นตอนที่ 2 หลังจากภาพถูกเปลี่ยนโหมดเป็นภาพแบบ Grayscale ตามภาพที่ 2 แล้ว เราก็มาเปลี่ยนภาพเป็นโหมดสีแบบ Duotone โดยใช้คำสั่ง Image --> Mode --> Duotone สังเกตบริเวณ Type จะเป็น Duotone (แบบ 2 เฉดสี) ตามภาพในตำแหน่งที่ 1




   
ขั้นตอนที่ 3 ในส่วนของหน้าต่าง Duotone Option เราสามารถที่จะเปลี่ยนเลือกใช้โทนสีที่ต้องการจะใช้แทนที่สีขาวดำในภาพ Grayscale ซึ่งสามารถเลือกเปลี่ยนสีได้โดยคลิกที่สี ที่บริเวณตำแหน่งที่ 2 (เลือกเปลี่ยนได้ทั้ง 2 สี และสามารถปรับแต่ง Curve เพื่อปรับน้ำหนักของสีได้ด้วยเช่นกัน) ซึ่งเมื่อเราคลิกแล้วจะมีหน้าต่าง Custom Colors มาให้เลือก ตามตำแหน่งหมายเลข 3 ซึ่งอยากได้ภาพแนว Duotone ออกมาเป็นสีไหน ก็เลือกสีได้ตามใจชอบเลย


   
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อเลือกสีที่จะแทนที่ และปรับแต่ง Curve ไล่น้ำหนักโทน เรียบร้อยแล้ว ก็คลิกปุ่ม OK ได้เลย ผลลัพธ์ของการตกแต่งภาพ Duotone ที่ได้จากการกำหนดสีตามภาพด้านบน ก็จะได้ภาพแนว Duotone ตามภาพด้านล่าง ส่วนภาพด้านล่างอีก 2 ภาพก็เป็นการใช้สีเหลือง และสีฟ้าในการแทนที่ และมีการปรับแต่ง Curve ก็จะได้ลักษณะภาพออกมาอย่างที่้เห็น
 
 






























































 


นอกจากนี้แล้วในส่วนของโหมด Duotone ยังสามารถแทนที่สีได้ไม่เฉพาะแค่ 2 เฉดสี แต่มีให้เลือกได้ในส่วนของ Type ในภาพตำแหน่งที่ 1 ซึ่งเราสามารถเลือก Type ได้เป็น 4 แบบดังนี้

Monotone เป็นการตกแต่งภาพ ให้เป็นภาพที่ใช้โทนสีเดียวแทนโทนสีดำของภาพ
Duotone เป็นการตกแต่งภาพ ให้เป็นภาพที่ใช้โทนสีสองสีแทนโทนสีดำของภาพ
Tritone เป็นการตกแต่งภาพ ให้เป็นภาพที่ใช้โทนสีสามสีแทนโทนสีดำของภาพ
Quadtone เป็นการตกแต่งภาพ ให้เป็นภาพที่โทนสีสี่ีสีแทนโทนสีดำของภาพ